วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

70 ปี ราชบัณฑิตสถาน

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 70 ปี ราชบัณฑิตสถาน

เนื่องในโอกาสครบ 70 ปี ราชบัณฑิตสถาน ในวันที่ 31 มีนาคม 2547 ดังนั้น เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ราชบัณฑิตสถานได้รับการสถาปนามาครบ 70 ปี กระทรวงการคลังจึงอนุมัติให้กรมธนารักษ์ จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นเหรียญโลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งสองพระองค์ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญด้านขวา มีอักษรพระปรมาภิไธย "ปปร" ภายใต้พระมหามงกุฎ ด้านซ้าย มีอักษรพระปรมาภิไธย "ภปร" ภายใต้พระมหามงกุฎ

พลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด

 

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด
ด้วยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์"พลังแผ่นดิน" และตราสัญลักษณ์ "พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด" เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทุกหมู่เหล่าร่วมกันเป็นพลังของแผ่นดินเพื่อขจัดสิ้นยาเสพติดให้หมดสิ้นลง กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์ จัดทำเหรียญกษาปณ์ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ประเภทธรรมดา

70 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 70 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนื่องในโอกาสครบ 70 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 27 มิถุนายน 2547 ดังนั้น เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบการสถาปนาเป็นปีที่ 70 ปี กระทรวงกระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์ จัดทำเหรียญกษาปณ์ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาทประเภทธรรมดา

6 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว

BWCC 2004

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมใหญ่สมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 3 (BWCC 2004)
เนื่องในโอกาสการประชุมใหญ่สมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 3 (BWCC 2004) ระหว่างวันที่ 17 - 25 พฤศจิกายน 2547 ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยได้เป็นที่รู้จักของนานาประเทศทั่วโลกมากขึ้นและส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา

200 ปี มหามงคล ร.4

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพครบ 200 ปี
ด้วยในปีพุทธศักราช 2547 เป็นมหามงคลสมัยครบ 200 ปี แห่งการพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเผยแพร่พระเกียรติคุณ ด้วยทรงเป็นพระบรมกษัตริยาธิราชเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งยอดในหลายแขนงวิชา ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระองค์ท่านในฐานะผู้ก่อตั้งโรงกษาปณ์ กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์ จัดทำเหรียญกษาปณ์ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว

CITES COP 13

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ ครั้งที่ 13 (CITES COP 13)

เนื่องในโอกาสการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 13 (CITES COP 13) ระหว่างวันที่ 2 - 14 ตุลาคม 2547 เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาส 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้วยพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทั้งประโยชน์ด้านนิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าวเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา

100 ปี กรมการขนส่งทหารบก

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี กรมการขนส่งทหารบก
เนื่องในโอกาสที่กรมการขนส่งทหารบกครบ 100 ปี ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นการเผยแพร่เกียรติประวัติของเหล่าทหารขนส่ง กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เต็มยศขาวทหารบก ทรงสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์และสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมพล ทรงสายสะพายและสายสร้อยแห่งเครื้องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๕ " ด้านซ้ายมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"
กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายราชการของกรมการขนส่งทหารบก และมีวงกลมรอบเครื่องหมายราชการเป็นรูปรัศมีเปล่งออกโดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๑๐๐ ปี กรมการขนส่งทหารบก" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขบอกราคาว่า "๑๐" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "บาท"

วันที่ประกาศใช้ : 28 มกราคม 2548
ปีที่ผลิต 2548 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายปัญญา คำเคน
ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php



72 ปี กรมธนารักษ์

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกครบ 72 ปี กรมธนารักษ์เนื่องในโอกาสการก่อตั้งกรมธนารักษ์ครบ 72 ปี ในวันที่ 23 พฤษาคม 2548 เพื่อเป็นที่ระลึกและเผยแพร่บทบาท ภารกิจของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์ จัดทำเหรียญกษาปณ์ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าวรวม 2 ชนิดราคา 2 ประเภท ดังนี้ 1. เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว(ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทขัดเงา ราคาจำหน่าย 200 ประเภทธรรมดาราคาจ่ายแลก 202. เหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดาราคาจ่ายแลก 10



กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนและเบื้องล่างทั้งสองข้าง

กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายราชการของกรมธนารักษ์ และรอบเครื่องหมายราชการมีเลข "72" เรียงรายอยู่โดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๗๒ ปี ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๗๖ - ๒๕๔๘" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" โดยมีจุดคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนและเบื้องล่างทั้งสองข้าง

วันที่ประกาศใช้ : 19 พฤษภาคม 2548
ปีที่ผลิต 2548 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายจรูญ ผ่านคำ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายจรูญ ผ่านคำ
ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

72 ปี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกครบ 72 ปี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
เนื่องในโอกาสครบ 72 ปี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นที่ระลึกและเผยแพร่บทบาท ภารกิจของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นโลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ และมีวงกลมรอบพระบรมรูปเป็นลายเหลี่ยมเพชรสร่ง ภายในวงขอบเหรียญมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"


กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายราชการของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ใต้เครื่องหมายราชการมีข้อความว่า "พ.ศ. ๒๕๔๗" ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๗๒ ปี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" และข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" ตามลำดับ โดยมีรูปธงชาติคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนและเบื้องล่างทั้งสองข้าง

วันที่ประกาศใช้ : 11 มกราคม 2549
ปีที่ผลิต 2548 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คำเคน
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

80 พรรษา เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระชนมายุ 80 พรรษา
เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 เพื่อเป็นที่ระลึกและเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวกระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว จำนวน 3 ชนิดราคา ดังนี้1. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเงิน ชนิดราคา 600 ประเภทธรรมดา2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทธรรมดา3. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา

กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 และเหรียญรัตนภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" เบื้องล่างมีรูปลายไทย


กลางเหรียญมีอักษรพระนาม "พ.ร." ภายใต้พระมงกุฎขัตติยราชนารี และมีพระวชิระ ดอกบัว และดารารัศมีประดับอยู่โดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท"และข้อความว่า "ประเทศไทย" ตามลำดับ


วันที่ประกาศใช้ : 8 กุมภาพันธ์ 2549
ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 1,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายทรงวุฒิ คงวัน ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

130 ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 130 ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย
เนื่องในโอกาสที่ครบ 130 ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย ในวันที่ 18 กันยายน 2548 เพื่อเป็นที่ระลึกและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดการตรวจเงินแผ่นดินในประเทศไทย กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ทีระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทั้งสองพระองค์ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๕" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙" เบื้องล่างมีข้อความว่า"ประเทศไทย"


กลางเหรียญมีรูปตราชั่งวางอยู่หน้าพานรัฐธรรมนูญ และมีลายไทยประดิษฐ์ประดับอยู่โดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๑๓๐ ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย ๑๘ กันยายน ๒๕๔๘" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" โดยมีจุดคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง
วันที่ประกาศใช้ : 10 เมษายน 2549

ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

พิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
ด้วยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

กลางเหรียญมีพระรูปพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ" เบื้องล่างประดับด้วยลายไทย
กลางเหรียญมีข้อความว่า "พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๘" ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ประเทศไทย" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท " ตามลำดับ ริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยลายไทยประดิษฐ์


วันที่ประกาศใช้ : 8 กุมภาพันธ์ 2549
ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายปัญญา คำเคน
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

งานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 25

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2548
เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมลูกเสือภาคพื้นเอเซีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2548 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2549 ณ บริเวณหาดยาว ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ประมุข คณะลูกเสือไทยและเผยแพร่พระเกียรติคุณไปยังนานาประเทศทั่วโลก กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสดังกล่าว เป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" เบื้องล่างมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙" โดยมีรูปเครื่องหมายลูกเสือสากลคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนและเบื้องล่างทั้งสองข้าง

กลางเหรียญมีรูปสัญลักษณ์งานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย- แปซิฟิก ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2548 และรอบรูปสัญลักษณ์มีวงกลมเชือกล้อมรอบสองวง เบื้องบนรูปสัญลักษณ์มีข้อความว่า "ประเทศไทย" เบื้องล่างมีข้อความว่า "25 Asia - Pacific Regional Scout Jamboree , 2005 : Thailand" โดยมีลายไทยคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนและเบื้องล่างทั้งสองข้าง ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "งานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๔๘" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" และ"10 BAHT" โดยมีจุดกลมค่นระหว่างข้อความบอกราคาดังกล่าว และมีรูปเครื่องหมายลูกเสือสากลคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนและเบื้องล่างทั้งสองข้าง

วันที่ประกาศใช้ : 11 มกราคม 2549
ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายปัญญา คำเคน ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายปัญญา คำเคน
ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

150 ปี เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์

เนื่องในโอกาสวันประสูติครบ 150 ปี พ.ศ.2549
ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เนื่องในโอกาสวันประสูติครบ 150 ปี ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2549 จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ทรงฉลองพระองคืเครื่องแบบผู้บังคับการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทรงสายสะพายและประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้าภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง


กลางเหรียญมีตราพระนามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "๑๕๐ ปี แห่งวันประสูติองค์เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

วันที่ประกาศใช้ : 8 สิงหาคม 2549
ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 5,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายปัญญา คำเคน
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน
ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

รางวัลอาหารปลอดภัย

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสองค์การอนามัยโลกทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลอาหารปลอดภัย
เป็นเหรียญกษาปณ์ทีระลึกที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี รวมทั้งเป็นการเผยแผ่พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสที่องค์การอนามัยโลกทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลอาหารปลอดภัย

กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงพระกุณฑลมุก และทรงสร้อยพระศอมุก ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีลายดอกไม้ประดิษฐ์คั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง


กลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์องค์การอนามัยโลก และข้อความว่า "In honour of Her Majesty Queen Sirikit' s outstanding contribution to promoting human health through food safety 8 August 2005" เบื้องล่างมีรูปช่อมะกอก ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสองค์การอนามัยโลก" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลอาหารปลอดภัย" ด้านขวามีเลขบอกราคาว่า "๑๐" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "บาท"

วันที่ประกาศใช้ : 12 เมษายน 2550
ปีที่ผลิต 2550 จำนวน ไม่เกิน 5,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายจรูญ ผ่านคำ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายจรูญ ผ่านคำ
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
เนื่อในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยลายรูปเพชรร้อยเรียงกันจำนวน ๖๐ เม็ด


กลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์การจัดงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" และข้อความว่า "ประเทศไทย" ตามลำดับ โดยมีจุดกลมคั่นข้อความระหว่างเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

วันที่ประกาศใช้ : 30 พฤษภาคม 2549
ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 16,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางพุทธชาติ อรุณเวช
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

100 ปี กรมพระธรรมนูญ

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกครบ 100 ปี กรมพระธรรมนูญ
จัดทำเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ราคา10บาท ประเภทธรรมดา ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึก 100 ปี กรมพระธรรมนูญ ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมพระธรรมนูญขึ้น และเป็นการเผยแพร่เกียรติประวัติของกรมพระธรรมนูญ

กลางเหรียญมีพระบรมรูประบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ทรงสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ และสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ทรงสายสะพายและสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๕" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙”
กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายราชการของกรมพระธรรมนูญ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๑๐๐ ปี กรมพระธรรมนูญ" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๑๒ กันยายน ๒๕๔๙ ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขบอกราคาว่า "๑๐" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "บาท"
วันที่ประกาศใช้ : 25 กันยายน 2549



ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

ประชุมศาลปกครองฯ #9

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมใหญ่สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ ครั้งที่ 9
เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสการประชุมใหญ่สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๙ ระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน พ.ศ.2550

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

กลางเหรียญมีรูปสัญลักษณ์สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ เบื้องบนรูปสัญลักษณ์มีรูปเครื่องหมายราชการของศาลปกครอง ด้างล่างขวาของรูปเครื่องหมายราชการมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" ด้านล่างซ้ายมีข้อความบอกราคาว่า "10 BAHT" เบื้องล่างรูปสัญลักษณ์มีข้อความว่า "BANGKOK THAILAND 2007" ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "การประชุมใหญ่สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๙ ๒๒-๒๔ พ.ย. ๒๕๕๐ กรุงเทพฯ"

วันที่ประกาศใช้ : 30 มกราคม 2550
ปีที่ผลิต 2550 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช, นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางพุทธชาติ อรุณเวช, นางสุนันทา ธิกุลวงษ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน
ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php

100 ปี ธนาคารไทยแห่งแรก

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี ธนาคารไทยแห่งแรก (ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน))
เพื่อเป็นที่ระลึกและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสถาปนาธนาคารไทยแห่งแรกของประเทศ และเผยแพร่เกียรติประวัติของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทั้งสองพระองค์ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความดังกล่าว


กลางเหรียญมีรูปครุฑพ่าห์ ใต้รูปครุฑพ่าห์มีแถบแพรจารึกข้อความว่า "ตั้งโดยพระบรมราชานุญาต" ใต้แถบแพรมีข้อความว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)" ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๑๐๐ ปี ธนาคารไทยแห่งแรก" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขบอกราคาว่า "๑๐" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "บาท"

วันที่ประกาศใช้ : 19 ธันวาคม 2549
ปีที่ผลิต 2549 จำนวน ไม่เกิน 5,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน
ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php


80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ตลอดจนน้อมนำจิตใจของปวงชนชาวไทยให้แสดงความกตัญญูกตเวที แสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุลเจ้าจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประเทศไทย)
กลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐" เบื้องล่างข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท"

วันที่ประกาศใช้ : 10 สิงหาคม 2550
ปีที่ผลิต 2550 จำนวน ไม่เกิน 18,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช, นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางพุทธชาติ อรุณเวช, นายทรงวุฒิ คงวัน
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน
ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

100 ปี กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ
ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์และสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสายสะพายเสนางคะบดีแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีและสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๖" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"
กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายราชการของกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๑๐๐ ปี กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ฯ" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขบอกราคาว่า "๑๐" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "บาท"

วันที่ประกาศใช้ : 6 กุมภาพันธ์ 2550
ปีที่ผลิต 2550 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายจรูญ ผ่านคำ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายจรูญ ผ่านคำ
ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

กีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24
เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 8-18 สิงหาคม พ.ศ.2550
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช "เบื้องล่างมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙" โดยมีลายไทยคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

กลางเหรียญมีรูปสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๔ ด้านขวาของรูปสัญลักษณ์มีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" ด้านซ้ายมีข้อความบอกราคาว่า "10 BAHT" ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "กีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๔" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๘ - ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ประเทศไทย"

วันที่ประกาศใช้ : 2 พฤษภาคม 2550
ปีที่ผลิต 2550 จำนวน ไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายปัญญา คำเคน ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายจรูญ ผ่านคำ

ที่มา
http://61.19.96.6/coininfo/index.php


75 พรรษา 12 สิงหาคม 2550

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา 75 พรรษา 12 สิงหาคม 2550
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ

กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงราชศิราภรณ์เพชร พระกุณฑลเพชร และทรงสร้อยพระศอเพชร ทรงฉลองพระองค์ผ้าไทยปักลายทรงสายสะพายและประดับดาราแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ


กลางเหรียญมีอักษรพระนามาภิไธย "สก" ไขว้ภายใต้พระมหามงกุฎ และมีลายก้านต่อดอกใบเทศประดับบนดารารัศมีโดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "เฉลิมพระชนมพรรษา ๗๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" และข้อความว่า "ประเทศ

วันที่ประกาศใช้ : 27 กรกฎาคม 2550
ปีที่ผลิต 2550 จำนวน ไม่เกิน 7,500,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช, นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางพุทธชาติ อรุณเวช, นายทรงวุฒิ คงวัน
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน


ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

ซีเกมส์ ครั้งที่ 24

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24
เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 6 - 15 ธันวาคม 2550

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" เบื้องล่างมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙" โดยมีลายดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง
กลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๔ ด้านซ้ายของรูปตราสัญลักษณ์มีรูปสัญลักษณ์นำโชคการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๔ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ประเทศไทย ๖ - ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๐" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท 10 BAHT" โดยมีลายดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง
วันที่ประกาศใช้ : 15 ตุลาคม 2550

ปีที่ผลิต : 2550 จำนวนไม่เกิน 5,000,000 เหรียญ

ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์

ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน



50 ปี เทคนิคการแพทย์ไทย

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 50 ปี เทคนิคการแพทย์ไทย
เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 50 ปี ของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์ครุยวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" เบื้องล่างมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง


กลางเหรียญมีรูปตราของสภาเทคนิคการแพทย์ โดยรอบตราประดับด้วยลายรวงข้าว ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "๕๐ ปี เทคนิคการแพทย์ไทย" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขบอกราคาว่า "๑๐" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "บาท

วันที่ประกาศใช้ : 5 กรกฎาคม 2550
ปีที่ผลิต 2550 จำนวนไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายจรูญ ผ่านคำ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายปัญญา คำเคน


ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

125 ปี ไปรษณีย์ไทย

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 125 ปี ไปรษณีย์ไทย
เพื่อใช้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 125 ปี ไปรษณีย์ไทย ในวันที่ 4 สิงหาคม 2551

กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทั้งสองพระองค์ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๕" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีลายช่อเปลวลอยคั่นระหว่างข้อความทั้งสองข้าง


กลางเหรียญมีรูปกระดาษม้วนประทับตราสัญลักษณ์งาน ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง


วันที่ประกาศใช้ : 16 มกราคม 2552
ปีที่ผลิต 2551 จำนวนไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ


ที่มา http://61.19.96.6/coininfo/index.php

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

120 ปี โรงพยาบาลศิริราช

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกครบ 120 ปี โรงพยาบาลศิริราช


เพื่อเป็นที่ระลึกและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของประเทศไทย กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทั้งสองพระองค์ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๕" ด้านซ้ายมีข้อความว่า"รัชกาลที่ ๙"

กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายราชการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "ครบ ๑๒๐ ปี โรงพยาลาลศิริราช" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๒๖ เมษายน ๒๕๕๑ ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขบอกราคาว่า "๑๐" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "บาท"

วันที่ประกาศใช้ : 30 พฤษภาคม 2551
ปีที่ผลิต 2551 จำนวนไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์ ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง